If you cannot view this HTML message
properly, please click here
หากพบปัญหาในการดูภาพหรือลิงค์ต่างๆ
กรุณา คลิกที่นี่
วันที่ 30 มีนาคม 2554
  โค้ชคือผู้ที่สามารถจูงใจผู้อื่น ดึงศักยภาพของตัวเองออกมาใช้ให้มากที่สุด เพราะตามทฤษฎีแล้ว คนเรายังใช้ศักยภาพของตัวเองไปน้อยมาก ไม่ถึง 10 เปอร์เซนต์ด้วยซ้ำ ดังนั้นหากโค้ชสามารถกระตุ้นให้ผู้อื่นเปลี่ยนแปลงตัวเองโดยการใช้ศักยภาพของตัวเองมากขึ้น ก็จะเกิดผลดีต่อเขา โค้ชจึงเป็นบทบาทที่สำคัญที่ผู้นำทุกๆ ท่านควรใช้ในการพัฒนาทีมงาน
 สิ่งที่โค้ชต้องทำ
ทำให้ผู้อื่นมองเห็นตัวของเขาเอง ถึงศักยภาพที่ถูกใช้ไปหรือติดอยู่กับหลุมพรางทางความคิดเรื่องอะไรอยู่ มีเรื่องอะไรที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน

ทำให้เขายอมรับในสิ่งที่เขาเป็นอยู่ ด้วยตัวเขาเอง ไม่ใช่ข้อสรุปของเรา เพราะความคิดเห็นของเรา อาจไม่ใช่สิ่งที่เขาจะยอมรับก็ได้ ดังนั้น เขาต้องเป็นผู้ยอมรับด้วยตัวเขาเอง

กระตุ้นให้เขาอยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง ในสิ่งที่เขาคิดว่าไม่มีประโยชน์กับตัวเขา และมองเห็นประโยชน์ในกรณีที่เขาเปลี่ยนแปลงตัวเองใหม่ เพื่อจูงใจให้เขาตัดสินใจเลือก การปฏิบัติกับตัวเองใหม่ (เขาต้องเป็นผู้เลือก)

กำหนดเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงร่วมกับเขา เพื่อให้เขาเกิดความเชื่อมั่นว่าเขาทำได้ และได้รับกำลังใจจากเรา และวางแผนดำเนินการร่วมกัน ไม่ควรเป็น Solution ของของเรา แต่ควรเป็นSolution ของเขา ที่เราร่วมกันคิด แต่คนตัดสินใจนำไปใช้ต้องเป็นตัวเขา

สร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน โดยทำให้เขาเห้นว่าเรามีจุดประสงค์ที่ดี ในการพัฒนาเขา และเขาเลือกที่จะพัฒนาไม่ได้มีการบังคับใดๆ ภาวะผู้นำในตัวเราต้องสูง เพื่อให้เขาเชื่อถือและมั่นใจในสิ่งที่เรากำลังโค้ชชิ่งเขา

การรับฟังอย่างตั้งใจ เพื่อให้เขาพูดในสิ่งที่เขาติดขัด หรือสิ่งที่เขากังวล การรับฟังจะกระตุ้นให้เขาพูดข้อเท็จจริงมากขึ้น และเขาจะยอมรับเรามากขึ้น เพราะเราสนใจในปัญหาของเขาอย่างแท้จริง เมื่อเราให้คำแนะนำ หรือแนวคิดใดๆ เขาก็จะอยากนำไปพิจารณาเพราะรู้สึกว่าเราสนใจเขา
“ไม่มีใครสนใจว่าคุณเก่งแค่ไหน จนกว่าเขาจะรู้สึกว่าคุณสนใจเขามากแค่ไหน”
 บทบาทของการเป็นโค้ช
: ผมใช้บทบาทนี้อย่างสม่ำเสมอระหว่างการโค้ชชิ่ง คือ
การเป็นกระจกเงา : สะท้อนให้โค้ชชี่มองเห็นตัวเอง
การเป็นไกด์ทัวร์ : บอกเล่าเรื่องราวที่เป็นประสบการณณ์ของเราให้ฟัง
การเป็นเทียนไข : คอยให้กำลังใจและให้พลังแก่เขาเพื่อก้าวข้ามอุปสรรค
การเป็นแผนที่ : กำหนดเป้าหมายและแผนงานร่วมกับเขา
 
 เทคนิคกระตุ้นให้โค้ชชี่เปลี่ยนแปลง
  เน้นการใช้ คำถามในเชิงสร้างสรรค์! และการให้ข้อมูลป้อนกลับในเชิงบวก ทำให้เขาเห็นประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลงตัวเองในเรื่องต่างๆ จูงใจให้เขาคิดด้วยตัวเขาเอง เช่น
คิดว่าถ้าทำแบบนี้แล้ว …จะได้ประโยชน์อะไร?
ไหนลองบอกหน่อยซิว่า ควรทำแบบไหนดีที่ไม่เหมือนเดิม?
ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลงแล้วจะเกิดโทษอย่างไรบ้าง?
เธอเคยทำได้มาแล้ว ครั้งนี้ก็น่าจะทำได้นะ เห็นด้วยหรือไม่?
ถ้าคนอื่นทำสำเร็จ คิดว่าเราจะทำสำเร็จด้วยหรือไม่?
เป็นต้น
 คำสำคัญที่ใช้ประกอบการโค้ชชิ่ง
ศักยภาพ ทัศนคติเชิงบวก
จับถูก พัฒนาจุดเด่น
เป้าหมาย ถามว่า “ทำอย่างไร?”
ประสบการณ์ เป็นต้น
 
   คำสำคัญเหล่านี้ผมจะใช้สอดแทรกให้แง่คิด อยู่ตลอด เพราะทำให้โค้ชชี่ เปลี่ยนความคิดตัวเองไปเป็นเชิงบวกได้ดี ซึ่งผมจะเล่าให้ฟังในกรณีศึกษาต่างๆ ที่ผมจะทยอยเขียนครับ
  ผมขออนุญาต ทยอยส่งให้กับทุกท่าน ประมาณ 2 สัปดาห์ 1 ครั้ง ผมจะเขียนเป็นตอนๆ ไป หากท่านอ่านไม่ทัน ก็สามารถอ่านย้อนหลังได้ที่เวบไซต์ของผมครับ (www.pakornblog.com) เพื่อให้ท่านได้มีโอกาสนำไปประยุกต์ใช้และทดลองปฏิบัติในฐานะที่เป็นโค้ชชี่ (Coachee) หรือในฐานะที่เป็นโค้ช (Coach) ก็ตาม
 
 
 
 
ฉบับหน้าจะเป็นกรณีศึกษาเรื่องแรกที่ผมใช้โค้ชชิ่ง โดยผมตั้งใจว่าจะเป็นเรื่อง “การสร้างความมั่นใจให้กับตนเอง” ของน้องคนหนึ่งที่ขาดความมั่นใจแล้วผมช่วยให้เขามีความเชื่อมั่นมากขึ้น

พบกันฉบับหน้าครับ สวัสดีครับ