If you cannot view this HTML message properly,
please
click here
หากพบปัญหาในการดูภาพหรือลิงค์ต่างๆ
กรุณา
คลิกที่นี่
www.pakornblog.com
/
www.entraining.net
วันที่ 20 กรกฏาคม 2554
การเลื่อนตำแหน่งใหม่
ที่สูงขึ้น ย่อมทำให้หลายคนเกิดความกลัว ถึงแม้จะเป็นสิ่งที่ดี ที่ได้มีโอกาสทำงานในตำแหน่งที่สูงขึ้น ผลตอบแทนมากขึ้น แต่หลายๆ คน ก็ยังไม่ค่อยอยากทำ เพราะไม่แน่ใจตัวเองว่าทำได้หรือไม่ ทั้งๆที่ หัวหน้าก็เกิดความเชื่อมั่น อยู่แล้ว จึงจะเลื่อนตำแหน่งให้ คุณพิรุณก็เป็นอีกคนหนึ่งที่มีความสามารถ เติบโต มาจากการเป็นพนักงานขาย แล้วขึ้นเป็นผู้จัดการทีมขาย มาวันนี้ กรรมการผู้จัดการต้องการให้ขึ้นมาช่วยเป็นผู้อำนวยการทีมงานขาย คุณพิรุณยังรีรอ เพราะไม่แน่ใจว่าจะทำได้ และคิดว่ายังเร็วเกินไปที่จะรับตำแหน่งนี้
ผมมีโอกาสเป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรของคุณพิรุณจึงให้นัดหมายเพื่อทำการโค้ชชิ่งคุณพิรุณให้เห็นประโยชน์ของโอกาสที่มีมาให้ครั้งนี้
อาจารย์ :
พิรุณยินดีด้วยนะ ที่ได้โอกาสในการรับตำแหน่งใหม่
พิรุณ :
พี่ ยังไม่แน่เลย หนูกลัวว่าจะทำไม่ได้ เพราะงานยากเกินไปแล้วก็คงยุ่งด้วย น่าจะให้คนอื่นที่อาวุโสกว่าทำดีกว่านะ
อาจารย์ :
สมมติว่ายังไม่คิดว่าจะรับหรือไม่รับคิดว่าตำแหน่งนี้ต้องทำอะไรบ้างครับ?
พิรุณ :
ผู้อำนวยการทีมงานขายคงต้องทำหลายเรื่อง เช่น
- กำหนดเป้าหมายยอดขายรวม โดยรวบรวมกับผู้จัดการแต่ละทีม
- วางแผนงานอย่างละเอียด
- กำหนดกลยุทธ์ที่จะขาย
- ปรับโครงสร้างทีมขายให้เหมาะสม
- ประสานงานช่วยเหลือทีมในทุกเรื่องที่ Sales อยากได้
เป็นต้น
โค้ช :
แล้วพิรุณคิดว่าถ้าจะต้องทำเรื่องเหล่านี้ พอจะทำได้หรือไม่
พิรุณ :
ถ้าเตรียมตัวก็พอทำได้ แต่ตอนปฏิบัติจะยากกว่าตอนเตรียมเยอะเลย
โค้ช :
ถ้ามองเป็นงานท้าทายแล้ว พิรุณรู้สึกอย่างไร?
พิรุณ :
ถ้ามองว่าน่าสนใจก็น่าสนใจดี แต่ไม่แน่ใจว่าจะเกิดปัญหาอะไรขึ้นมาบ้าง
โค้ช :
แล้วถ้าได้ทำแล้วจะเกิดประโยชน์อะไรขึ้นบ้าง?
พิรุณ :
ก็มีประโยชน์เยอะ เช่น
- ช่วยองค์กรได้ (พิรุณเป็นคนรักองค์กร)
- พัฒนาตัวเอง
- ท้าทายความสามารถที่ทำอยู่
- ได้ลองทำเรื่องยากๆดู
โค้ช :
พิรุณคิดว่ามีประโยขน์แต่กลัวทำไม่ได้ ใช่หรือไม่?
พิรุณ :
กลัวทำได้ไม่ดีมากกว่าค่ะ
โค้ช :
ถ้ามองเป็นประสบการณ์อย่างหนึ่งที่เราจะได้รับล่ะ
พิรุณ :
ก็ดีนะค่ะ อย่างน้อยก็ทำให้ตื่นเต้นดี ทำให้เต็มที่ก็พอ
โค้ช :
ถูกแล้วล่ะ ตอนนี้คิดอย่างไรบ้างแล้ว
พิรุณ :
ไว้หนู ทำแผนมาให้ดูก่อนดีกว่า แต่พี่จะช่วยด้วยนะ
โค้ช :
ยินดี แต่พิรุณต้องคิดว่าได้มีโอกาสลงมือทำ อย่าเพิ่งกังวลกับผลลัพธ์มากเกินไปน่ะ
พิรุณ :
ค่ะ แล้วจะส่งแผนให้นะค่ะ
โค้ช :
ขอบคุณครับ
ครั้งหน้าเปลี่ยนบรรยากาศไปเป็นเรื่องใกล้ตัวกันบ้างนะครับ นำกระบวนการโค้ชนี้ไปใช้ในครอบครัว ท่านที่เป็นคุณพ่อ คุณแม่ แล้ว เตรียมตัวพบกับการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการการโค้ชลูกด้วยตัวอย่างการใช้คำถามหลากหลาย
พบกันฉบับหน้าครับ