Untitled Document
Untitled Document
รูปปกหนังสือ
"โลกของการโค้ช"
(The World of Coaching)
เป็นหนังสือที่ผมตั้งใจเขียนขึ้นมา จากการเรียนรู้และประสบการณ์การโค้ช ในฐานะวิทยากร&โค้ชมืออาชีพ...เพื่อให้เป็น คู่มืออ้างอิงและฝึกฝนการโค้ช ในสไตล์ของตัวเองครับ!
ราคาเล่มละ 350 บาท
สั่งซื้อได้ที่นี่
 
right story
  •  เรื่องที่อยากเล่าให้ฟัง 175
  •  เรื่องที่อยากเล่าให้ฟัง 173
  •  เรื่องที่อยากเล่าให้ฟัง 174
      ทั้งหมด »»  
  •   หัวหน้าทวงงานแล้วรู้สึกหงุดหงิดทุกที ควรแก้ไขอย่างไร?
  •   ความอยากในการทำงานจะลดลงเมื่อเจออุปสรรค จะให้กำลังใจตัวเองอย่างไร?
  •   การพัฒนาพนักงานในองค์กรเราควรพัฒนาคนเก่งหรือพัฒนาคนที่ไม่เก่งดี ?
      ตัวอย่างคำปรึกษาอื่นๆ»»  
     
    |
    หลักสูตร : สุดยอดผู้จัดการสาขามืออาชีพ (หลักสูตร 1 วัน)
    Professional Branch Manager ( 1 Day )
    หลักการและแนวความคิด
    การแข่งขันในธุรกิจปัจจุบัน ผู้ที่มีเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่มากที่สุดย่อมได้เปรียบ เพราะสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคและมีความใกล้ชิดกับความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง การขยายสาขาจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญขององค์กร ดังนั้น เพื่อให้สาขาสามารถสร้างรายได้ตามเป้าหมาย จึงต้องพัฒนาผู้จัดการสาขาให้มีความพร้อมในการบริหารงานอย่างมืออาชีพ
    ผู้จัดการสาขามืออาชีพควรโดดเด่นใน 2 เรื่องหลักคือ การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) และมีภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership) อีกทั้งยังต้องมีความรู้ความสามารถในการบริหารสาขาทั้ง 5 ด้าน ดังนี้
    การบริหารการตลาด (Marketing)
    การบริหารการเงิน (Finance)
    การดูแลบัญชีสาขา (Accounting)
    การบริหารงานภายในสาขา (Operation)
    การบริหารงานบุคคล (HRD)
    การบริหารงานสาขาให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายนั้น หัวใจสำคัญคือผู้จัดการสาขาให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายนั้น หัวใจสำคัญคือผู้จัดการสาขาในฐานะผู้นำองค์กร (สาขา) นั้นๆ จึงต้องแน่ใจว่ามีความพร้อมที่จะสร้าง ดูแล และพัฒนาทีมงานให้ประสบความสำเร็จร่วมกัน ดังนั้น ผู้จัดการสาขาจึงต้องเก่งทั้งงานและเก่งคน เพื่อกระตุ้นจูงใจให้บุคลากรสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
    เพื่อสร้างแนวความคิดในการบริหารสาขาให้มีประสิทธิผล ให้ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงตามสาขาที่ตนเป็นผู้รับผิดชอบอยู่
    เพื่อทำให้ผู้เรียนมีแนวทางการบริหารจัดการทั้งเรื่องงานและเรื่องคน ของตัวเองได้อย่างเหมาะสมด้วย Style ของตัวเอง
    เพื่อทำให้ผู้เรียนมีเทคนิคในการบริหารงานด้านต่างๆ อย่างครบถ้วนในฐานะผู้จัดการสาขา
    รายละเอียดเนื้อหาของหลักสูตร (Course Outline)
    สิ่งที่ผู้จัดการสาขาต้องเผชิญ
    การแข่งขันในพื้นที่รับผิดชอบ (การคิดเชิงกลยุทธ์)
    การสร้างยอดขายตามเป้าหมาย (การขาย)
    ปัญหา/อุปสรรคในการบริหารงาน (หลุมพราง)
    การทำให้ทีมงานยอมรับและไว้วางใจ (ภาวะผู้นำ)
    การติดต่อประสานงานกับสำนักงานใหญ่ (การสื่อสาร)
    การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์และการปฏิบัติตามแผน
    เริ่มต้นที่วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย
    วิเคราะห์สภาวะการแข่งขันในพื้นที่
    กำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมของตัวเอง
    วางแผนปฏิบัติงานเชิงกลยุทธ์
    การปฏิบัติงานตามแผนและการควบคุม
    ประเมินและปรับเปลี่ยนแผนงานอยู่เสมอ
    Workshop: กำหนดแนวทางการบริหารจัดการ (คัมภีร์) ของตัวเอง
    การบ้านเพื่อการนำไปฝึกฝนและปฏิบัติจริง
    การบริหารสาขาให้มีประสิทธิผลทั้ง 5 ด้าน
    การตลาด (Marketing)
    การเงิน (Finance)
    บัญชีสาขา (Accounting)
    ปฏิบัติการ (Operation)
    บริหารงานบุคคล (HRD)
    Workshop: MBA for Branch Manager
    สร้างทีมเวิร์คด้วยแนวทางการทำงานเชิงบวก
    การทำงานด้วยความสุขและสนุกกับงาน (Happy Work Place)
    การระดมสมองให้ทุกคนมีส่วนร่วม (Brainstorming)
    การประชุมอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ (Effective Meeting)
    การก้าวข้ามอุปสรรคด้วยแนวคิดเชิงบวก (Positive Attitude)
    Workshop: ออกแบบแนวทางการทำงานของสาขาตัวเอง
    แนวทางในการพัฒนาตามโปรแกรม
    การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนเป็นบุคคลสำคัญที่ต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้เรียนรู้ไปใช้ได้ในทันที ด้วยแนวทางของตัวเอง
    กิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง
    การบรรยายเนื้อหา
    Work shop สร้างสถานการณ์
    เกมส์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
    การบ้านเพื่อการนำไปฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง
    วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้นๆ โดยการเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยตัวเอง
    แนวทางการดำเนินการเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างยั่งยืน
     

    “การเปลี่ยนแปลงตัวเอง ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และมีความสุขที่ได้ทำ”

     
    การสร้างกิจกรรมหลังการฝึกอบรมนับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญเพราะจะทำให้การพัฒนาตัวเองเกิดความต่อเนื่อง และหากสามารถทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมดำเนินการฝึกฝนในเรื่องที่เขาอยากเปลี่ยนแปลงได้ยาวนานก็จะทำให้เขาสามารถสร้างอุปนิสัยใหม่ของตัวเองขึ้นมาได้ เมื่อมีความมั่นใจในการเปลี่ยนแปลงตัวเองในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว เขาก็จะสามารถสร้างกระบวนการเปลี่ยนแปลงตัวเองในเรื่องอื่นๆต่อไปได้ด้วยตัวเอง อีกทั้งยังสามารถนำไปให้ผู้อื่นได้พัฒนาต่อไปได้ด้วย
    กิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เข้าอบรมสามารถพัฒนาตัวเองได้อย่างต่อเนื่อง สามารถเอาชนะสภาพแวดล้อมได้ควรเป็นสิ่งที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างการฝึกอบรม ทำให้เขานึกถึงบรรยากาศในการฝึกอบรมและเขาเลือกเรื่องที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพื่อพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น
     

    กิจกรรมที่สามารถดำเนินการได้มีดังนี้

    1. การบ้านสำหรับการนำไปฝึกฝนหลังการอบรม
    2. เอกสารอ้างอิงสำหรับนำไปประกอบการฝึกฝน
    3. เว็บไซด์ด้านการพัฒนาตัวเอง เพื่อศึกษาเรื่องต่างๆเพิ่มเติมที่  pakornblog.com
    4. จดหมาย Reminder จากอาจารย์ปกรณ์แวะมาทักทาย
    5. สมัคร Mailing List รับข่าวสารด้านการพัฒนา
    6. การติดตามผล (Follow up) โดยทีม HRD ขององค์กร
    7. การติดตามผล (Follow up) โดยทีม วิทยากรผู้ช่วย  (มีค่าใช้จ่าย)
    8. การสร้างโครงการร่วมกันในองค์กรโดย HRD
    9. การดำเนินการ Clinic โดยอาจารย์ปกรณ์ (มีค่าใช้จ่าย)
    ผลลัพธ์จากการฝึกอบรม ทุกคนจะมีประเด็นสำคัญของตัวเองที่จะนำไปพัฒนา แต่จะหยุดการพัฒนากลางคันเพราะไม่สามารถเอาชนะสภาพแวดล้อมได้ ดังนั้นกิจกรรมเหล่านี้จะช่วยให้เขาสามารถพัฒนาตัวเองต่อไปได้ด้วยตัวของเขาเอง
    โดยสรุปแนวทางการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องสามารถทำได้โดย
    1. ตัวผู้เข้าอบรม พัฒนาตนเอง โดยใช้
    การบ้านที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะนำไปทำ ( ถ้ามี )
    เอกสารเพิ่มเติมสำหรับนำไปฝึกฝน
    แหล่งความรู้เตือนความทรงจำในเว็บไซด์ www.Pakornblog.com
    Mailing List ความรู้ส่งตรงถึงที่ จาก ทีม วิทยากรผู้ช่วย  ถึงผู้เข้าอบรม
    จดหมาย Reminder (ทักทาย) จากอาจารย์ ปกรณ์ 3 ฉบับ ( 3 เดือน )
    การสร้างโครงการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยผู้เข้าอบรมเอง หรือ ร่วมกับ HRD ( ถ้ามี )
    2. ติดตามผลการอบรมโดย HRD ของ บริษัทลูกค้า
    HRD ตามการบ้านที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะนำไปทำ ( ถ้ามี )
    การสร้างโครงการพัฒนา / อำนวยความสะดวก ให้ผู้เข้าอบรม พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
    3. ติดตามผลการอบรม โดย วิทยากรผู้ช่วย ของ อาจารย์ปกรณ์
    ดำเนินการแทน HRD โดยมีรายงานสรุปผล ความเปลี่ยนแปลงให้
    4. Clinic โดย อ.ปกรณ์
    ดำเนินฝึกอบรมเพิ่มเติม โดยให้ผู้เข้าอบรมทำการบ้าน (งานที่ผู้เข้าอบรมบอกว่าต้องการไปพัฒนา) และ อาจารย์ มาให้คำแนะนำ
     

    กรณีการติดตามผลแบบมีค่าใช้จ่าย หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อทีมงานเพื่อขอรายละเอียดรูปแบบและการดำเนินการเพื่อนำเสนอเพิ่มเติม

     

    <<<กลับหน้ารวมหลักสูตร