Untitled Document
Untitled Document
รูปปกหนังสือ
"โลกของการโค้ช"
(The World of Coaching)
เป็นหนังสือที่ผมตั้งใจเขียนขึ้นมา จากการเรียนรู้และประสบการณ์การโค้ช ในฐานะวิทยากร&โค้ชมืออาชีพ...เพื่อให้เป็น คู่มืออ้างอิงและฝึกฝนการโค้ช ในสไตล์ของตัวเองครับ!
ราคาเล่มละ 350 บาท
สั่งซื้อได้ที่นี่
right story
เรื่องที่อยากเล่าให้ฟัง 175
เรื่องที่อยากเล่าให้ฟัง 173
เรื่องที่อยากเล่าให้ฟัง 174
ทั้งหมด
»»
หัวหน้าทวงงานแล้วรู้สึกหงุดหงิดทุกที ควรแก้ไขอย่างไร?
ความอยากในการทำงานจะลดลงเมื่อเจออุปสรรค จะให้กำลังใจตัวเองอย่างไร?
การพัฒนาพนักงานในองค์กรเราควรพัฒนาคนเก่งหรือพัฒนาคนที่ไม่เก่งดี ?
ตัวอย่างคำปรึกษาอื่นๆ
»»
Truehits.net
|
หลักสูตร : สร้างเสริมทักษะการเจรจาต่อรองอย่างสร้างสรรค์ (หลักสูตร 1 วัน)
Negotiation (1 Day )
<<<กลับหน้ารวมหลักสูตร
Download Course outline ครบเครื่องได้ที่นี่
หลักการและแนวความคิด
การเจรจาต่อรองอย่างสร้างสรรค์มีส่วนสำคัญต่อการขายอย่างมาก เพราะการขายได้โดยที่ลูกค้ารู้สึกว่าถูกเอาเปรียบ เราก็จะสามารถขายได้เพียงครั้งเดียว แต่ถ้าลูกค้ารู้สึกว่าคุ้มค่าในการซื้อขาย ก็จะเกิดการซื้อซ้ำต่อไปอีกในอนาคต
พนักงานขายที่ดีควรมี “ ทักษะการเจรจาต่อรองที่ดี (Negotiation skill ) ” เพื่อให้กระบวนการขายดำเนินต่อไปจนถึงการปิดการขาย ดั้งนั้น พนักงานขายควรให้ความสำคัญกับการเจรจาต่อรอง มองว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายไม่ใช่คิดว่าเป็นความเครียด
การพัฒนาทักษะการเจรจาต่อรองนั้น ต้องพัฒนาทั้ง 2 ด้าน คือ
1. รู้เขา : รู้ความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า ( จับถูก )
2. รู้เรา : รู้จุดเด่นและคุณค่าของตัวเอง (เชื่อมั่น)
แล้วจึงนำข้อมูลทั้งหมดมาเจรจาต่อรอง เพื่อให้ทั้งสองฝ่าย ได้รับตามเป้าหมายของตัวเอง เกิดความรู้สึกว่า ชนะทั้งคู่ (Win : Win)
"การเจรจาต่อรองที่ดี คู่เจรจาต้องรู้สึกชนะทั้งคู่"
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อสร้างเสิมแนวความคิดในเรื่องการเจรจาต่อรองที่สร้างสรรค์ไม่ใช่มุ่งแต่เอาชนะลูกค้า
เพื่อพัฒนาทักษะการเจรจาต่อรองให้พนักงานขายสามารถนำไปปรับใช้ ตามสถานการณ์ของตัวเองได้อย่างเหมาะสม
เพื่อทำให้เกิดการฝึกฝนคุณสมบัติที่ดีในการเป็นนักเจรจาต่อรองที่มีคุณภาพและประสบความสำเร็จในงานขายมากยิ่งขึ้น
รายละเอียดของหลักสูตร
สำรวจแนวความคิดเรื่องการเจรจาต่อรอง
การพัฒนาตัวเองให้เป็นนักเจรจาที่ดี
การเจรจาต่อรอง (Negotiation ) คืออะไร ?
คุณเป็นนักเจรจาต่อรองหรือไม่ ?
หลุมพรางทางความคิดเรื่องการเจรจาต่อรอง
เทคนิคการเอาชนะหลุมพราง
Work shop : สร้างเทคนิคการเอาชนะหลุมพรางด้วยตัวเอง
สร้างความเชื่อมั่นในตัวเอง
เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์
วิธีชนะมิตรและการจูงใจ
การหลีกเลี่ยงข้อโต้แย้ง
กรณีศึกษา : พัฒนาแนวความคิดของตัวเอง
สร้างเสริมทักษะการเจรจาต่อรอง
คุณสมบัติของการเป็นนักเจรจาต่อรองที่มีคุณภาพ
กำหนดจุดประสงค์
การเตรียมตัวก่อนเริ่มเจรจา
ขั้นตอนการเจรจาอย่างสร้างสรรค์
สรุปผลลัพธ์การเจรจาแบบ Win : Win
Workshop : ออกแบบโปรแกรมการเจรจาต่อรอง
การคิดเชิงกลยุทธ์
ความคิดเชิงสร้างสรรค์
มนุษย์สัมพันธ์
มุ่งมั่นต่อป้าหมาย
ทัศนคติเชิงบวก
Workshop : เลือกคุณสมบัติเพื่อการพัฒนา
การบ้านเพื่อนำไปฝึกฝนเพิ่มเติม ( คัมภีร์การเจรจา)
แนวทางในการพัฒนาตามโปรแกรม
การฝึกอบรมทำให้นักขายเรียนรู้ด้วยตัวเอง ตามแนวทางการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) ซึ่งนักขายจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ได้ทันที ตามที่ตัวเองรู้สึกว่าเหมาะสมกับ Style ของตัวเอง
กิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง
การบรรยายเนื้อหา
Work shop สร้างสถานการณ์
เกมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
การบ้านเพื่อการนำไปฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง
วิทยากรใช้กระบวนการ Coaching เพื่อดึงศักยภาพของนักขายที่หลบซ่อนอยู่ออกมาด้วยนักขายเองโดยทำให้นักขายมองเห็นตัวเอง และอยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง รับผิดชอบต่อเป้าหมายของตัวเอง โดยการสร้างทัศนคติเชิงบวกต่องานขายที่ตัวเองรับผิดชอบอยู่
สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้เกิดแรงจูงใจในการที่นักขายอยากจะพิชิตเป้าหมายยอดขายให้ได้ โดยสามารถกระตุ้นตัวเองให้กระตือรือร้นต่องานขายได้ เมื่อตัวเองรู้สึกท้อถอยอยู่บ่อยๆ เพราะเข้าใจว่า “การขายเป็นเกมการถูกปฏิเสธ” จึงสร้างแนวทางเพื่อเอาชนะได้ด้วยตัวเอง
การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานขาย ซึ่งกันและกันในClass ทำให้เกิดการเรียนรู้จากชีวิตจริงของผู้อื่น อีกทั้งการทำ Work shop เพื่อให้สามารถนำไปฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง หลังจากการฝึกอบรมเสร็จสิ้นแล้ว ทำให้เกิดความสนุกสนานและอยากเรียนรู้มากขึ้น
ผู้ที่เหมาะสมกับหลักสูตรนี้
ผู้จัดการทีมงานขาย
เจ้าหน้าที่ธุรการฝ่ายขาย
ผู้จัดการทีมงานขาย
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานขายและการตลาด
<<<กลับหน้ารวมหลักสูตร
Download Course outline ครบเครื่องได้ที่นี่
Home
|
บอกเล่าแนวความคิด
|
เรื่องเล่าน่าภูมิใจ
|
web นี้ให้อะไร
|
หลักสูตร
|
บริการ
|
ติดต่อผม
|
Copyright @ Pakornblog.com