|
เรื่องที่อยากเล่า # 53
อิทธิพลของการจับถูกที่สร้างสรรค์ |
01 ก.ย. 2552 |
วันนี้อยากจะเล่าผลการทดสอบอิทธิพลของการ จับถูก ที่ทำให้เอาชนะข้อโต้แย้งหรือความคิดลบที่เกิดจากการวิจารณ์ของผู้อื่นได้เป็นอย่างดีแล้วสามารถแปลคำวิจารณ์ให้กลายเป็นกระจกสะท้อนให้เราเห็นตัวเองอย่างเต็มใจและยอมรับได้โดยง่าย ไม่คิดลบกับผู้พูด หลังจากนั้นก็สารมารถที่จะกำหนดแนวทางการทำงานของตัวเองใหม่ และยืนยันมาตรฐานใหม่เพื่อให้ครอบคลุมคำวิจารณ์ของผู้อื่นได้ด้วย ... |
|
เรื่องมีอยู่ว่าองค์กรหนึ่งได้ให้พนักงานแสดงความคิดเห็นต่อหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและอยากให้หน่วยงานนั้น ๆ ปรับปรุงเรื่องอะไรบ้างที่เราเห็นว่าไม่ดี โดยอนุญาติให้เขียนได้เต็มที่แล้วรวบรวมความคิดเห็นให้ในแต่ละหน่วยงานไปแยกแยะปัญหาว่าเป็นประเภทใดบ้างแล้วลองหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขดู บรรยากาศในการให้ความคิดเห็นเป็นไปอย่างสนุกสนานสำหรับคนเขียน (เพราะได้วิจารณ์ผู้อื่น)แต่สำหรับคนฟังแล้วผมไม่แน่ใจแต่คิดว่าไม่มีใครชอบ แต่ต้องทนฟังเพราะเป็นกติกาว่าให้ฟังอย่างเดียวไม่ควรโต้แย้ง หลังจากนั้นก็ให้ทุกหน่วยงานนำกลับไประดมสมองในทีมงานของตัวเองเพื่อมาตอบในอีก 2 สัปดาห์ต่อมาผมได้มีโอกาสโค้ชชิ่ง (Coaching) ทีมงานบางส่วนประมาณครึ่งหนึ่งขององค์กร (เฉพาะหัวหน้างาน) ดังนั้นกลุ่มที่ผมได้โค้ชชิ่งนั้นผมได้ตั้งโจทย์ใหม่ให้เขาดังนี้
|
1. ค้นหาจุดเด่นของตัวเอง , ความสามารถของตัวเอง
2. กำหนดขอบเขตความรับผิดชอบที่ทำอยู่
3. ระบุมาตรฐานหรือ KPI ที่จะทำให้ได้ในแต่ละงานที่รับผิดชอบ
4. แยกแยะปัญหาที่ผู้อื่นให้ความคิดเห็นไว้เป็นแต่ละประเภท
5. Matching ปัญหากับ มาตรฐานงานของเรา (อันใหม่)
|
ผลปรากฏว่าถึงแม้ว่าจะนำปัญหามาคิดทีหลัง หลังจากที่เขียนขอบเขตและระบุมาตรฐานใหม่แล้ว ก็ยังสามารถตอบโต้ครอบคลุมปัญหาที่ได้รับครบถ้วนทำให้ทุกคนมีความสุขและอยากทำมาตรฐานใหม่และเป็นผู้คิดเอง
พอถึงเวลากลับมาประชุมกันอีกครั้ง ผมได้เห็นความแตกต่างของทั้ง 2 กลุ่มชัดเจน ดังนี้
กลุ่มที่ 1 : นำปัญหาขึ้นก่อนแล้ววิเคราะห์สาเหตุแล้วระบุแนวทางแก้ไข
- ส่วนใหญ่จะเป็นคำอธิบายในทำนอง แก้ตัว
- สิ่งที่จะดำเนินการแก้ไขจะมีข้ออ้างปนอยู่ด้วย เช่น ถ้า..,แต่..
- แนวทางแก้ไขเป็นแค่ความคิด ไม่ใช่คำยืนยันว่าจะทำ
- มีอารมณ์ในการตอบคำถาม
กลุ่มที่ 2 : กำหนดขอบเขตความรับผิดชอบและตั้งมาตรฐานที่จะทำแล้ว Matching กับปัญหา
- สามารถตอบความคิดเห็นโดยส่วนใหญ่ได้หมดตามมาตรฐานใหม่
- นำคำวิจารณ์มาเป็นกระจกแล้วตอบว่าจะทำอะไรให้ได้มาตรฐานไหน
- ความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาจะมีมากกว่าเพราะเป็นสิ่งที่อยากทำเอง
- ไม่มีอารมณ์ในการตอบคำถาม
หลังจากได้สัมผัสกับเหตุการณ์โดยตรงแล้ว ทำให้ผมยิ่งมีความเชื่อมั่นว่าเราต้อง จับถูก ผู้อื่นก่อนแล้วเขาจะมีวิธีการแก้ไขปัญหาของเขาเองโดยที่เขาเต็มใจที่จะทำ เพราะเขาเกิดความเชื่อมั่นในตัวเองแล้ว โดยไม่มีข้ออ้างใด ๆ ส่วนถ้าเรา จับผิด ผู้อื่นเขาจะหาทางชี้แจงในความคิดของเรา โดยลืมไปว่าเราเป็นแค่กระจกสะท้อนให้เขาเห็นเท่านั้น ดังนั้นก่อนจะสะท้อนแนวความคิดเชิงลบใด ๆ ไปทำให้เขาเชื่อมั่นในความสามารถของตัวเองก่อนจะดีกว่านะครับ
|
<<
เรื่องก่อนหน้า
|
เรื่องเล่าย้อนหลัง |
เรื่องต่อไป
>>
|