|
เรื่องที่อยากเล่า # 83
ประเด็นสำคัญของหัวหน้างานในการพัฒนาทีม |
18 เม.ย. 2555 |
ปีนี้ กระแสการอบรมให้หัวหน้า / ผู้จัดการ ทำหน้าที่เป็น โค้ช ให้กับทีมงานค่อนข้างมาแรง อาจเป็นเพราะทุกวันนี้หัวหน้างานรู้สึกปวดหัวและไม่รู้ว่าจะสั่งงานให้ลูกน้องเข้าใจและปฏิบัติงานที่สั่งได้อย่างไร จึงเป็นหน้าที่ของ HRD ที่ต้องค้นหาวิธีการที่จะพัฒนาให้หัวหน้างานมีแนวทางและเทคนิคที่จะพัฒนาทีมงานให้มีประสิทธิผลมากขึ้น บทบาทของการเป็นโค้ชจึงกลายเป็นที่สนใจของการฝึกอบรมเพิ่มขึ้น |
|
การฝึกอบรมที่ผ่านมาทำให้พอสรุปได้ว่า ทุกวันนี้หัวหน้างานสั่งลูกน้องแล้วไม่ต้องได้รับการยอมรับเป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้...
1. ลูกต้อง Gen Y มีความคิดเป็นของตัวเองมากขึ้น
2. หัวหน้างานขาดภาวะความเป็นผู้นำในสายตาของลูกน้อง
3. งานมีความยากมากขึ้น ทำให้ทั้งหัวหน้าและลูกน้องกลัวว่าจะทำไม่ได้
4. ทุกอย่างดูเร่งรีบไม่หมด จนต้องการผลลัพธ์ทันที่ ไม่เปิดโอกาสให้มีการพัฒนาตัวเองก่อน
5. ลูกน้องคิดว่าหัวหน้าไม่มีความสามารถเพียงพอ
6. หัวหน้าคิดว่าลูกน้องไม่ค่อยได้เรื่อง จึงไม่อยากพัฒนา
การปฏิบัติงานระหว่างหัวหน้าและลูกน้องจึงเกิดช่องว่างสูงมาก ทำให้ประสิทธิผลการทำงานภายในทีมลดลด
และไม่สามารถบรรลุเป้าหมายขององค์กรได้ ถ้าหากหัวหน้าสามารถดึงศักยภาพของลูกน้องออกมาใช้ได้เต็มที่ ก็จะเกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร
|
ขอสรุปประเด็นสำคัญที่หัวหน้าต้องปฏิบัติในฐานะโค้ช ดังนี้...
1. เรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์
หัวหน้าควรเข้าถึงความต้องการของพนักงานในฐานะเพื่อนมนุษย์ ไม่ใช่พนักงาน เพราะมนุษย์ทุกคน...
� � � � �- ชอบคำชม
� � � � �- อยากได้การยอมรับ
� � � � �- อยากให้ผู้อื่นเห็นคุณค่า
ดังนั้น ควรชื่นชมในความสามารถและมองเห็นคุณค่าของพนักงานในการมอบหมายงานที่เหมาะสมกับความสามารถของเขาด้วย
2. สื่อสารด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์
หัวหน้างานที่เอาแต่สั่งงานแล้วหวังว่าลูกน้องจะเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติด้วยความเต็มใจนั้น คงไม่เกิดขึ้นแล้ว เพราะปัจจุบันหาลูกน้องน้อยมากที่ชอบให้หัวน้าสั่ง อยากให้หัวหน้ามอบหมายงานด้วยการอธิบายและทบทวนความเข้าใจซึ่งกันและกันก่อน ไม่ใช่สั่งแล้วถือว่าจบกัน ดังนั้น หัวหน้าต้องให้ความสำคัญกับลุกน้องมากกว่าคำสั่งของตัวเอง และสื่อสารจนกว่าลูกน้องจะเข้าใจ พร้อมทั้งทบทวนให้แน่ใจว่าเป้าหมายเป็นของลูกน้อง
3. มองลูกน้องในเชิงบวก
ความสามารถของแต่ละคนย่อมไม่เท่ากัน หัวหน้าที่เก่งย่อมมองเห็นลูกน้องมีความสามารถไม่เท่าหัวหน้า แต่ก็ไม่ใช่เป็นคนไม่เก่งเพราะถ้าหัวหน้ามองลูกน้องเป็นคนไม่เก่งเสียแล้ว ก็จะปฏิบัติต่อเขาไม่ดี ดังนั้น ควรมองว่าลูกน้องยังสามารถพัฒนาได้ และคงจะเกิดขึ้นถ้าได้ฝึกฝนและปฏิบัติบ่อยๆ มองที่ความสามารถที่เป็นจุดเด่นของลูกน้องมากกว่ามองข้อเสียที่เป็นจุดด้อย แล้วกระตุ้นให้ลูกน้องใช้จุดเด่นของตัวเองให้เต็มที่มากขึ้น
4. เชื่อมั่นว่าลูกน้องมีวิธีการของตัวเอง
การที่หัวหน้าพยายามได้วิธีการของหัวหน้ากับลูกน้องในทันทีก่อนที่จะให้ลูกน้องคิดว่า วิธีการของตัวเองนั้นอาจทำให้ลูกน้องขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง และนำวิธีการที่ตัวเองไม่ถนัดไปปฏิบัติจะเกิดผลลัพธ์ที่ไม่ดีเท่าที่ควร เพราะเป็นวิธีการของหัวหน้า มิใช่ของเขา ดังนั้นหัวหน้าควรกระตุ้นให้เขาคิดหาวิธีการของเขาก่อนถ้าไม่ได้แล้วอาจแนะนำนิดหน่อยเพื่อเป็นแนวทางไม่ใช่บอกทั้งหมด
|
ลองปรับเปลี่ยนตัวเองกันหน่อยนะครับ แล้วดูผลลัพธ์ว่าลูกน้องมีผลงานที่ดีขึ้นมากน้อยแค่ไหนครับ
|
<<
เรื่องก่อนหน้า
|
เรื่องเล่าย้อนหลัง |
เรื่องต่อไป
>>
|