Untitled Document
Untitled Document
 

 
คิดแล้วรวย
พลิกชีวิต คิดเชิงบวก
ความเชื่อมั่น สร้างได้ด้วยตัวเอง
เป้าหมาย
เปลี่ยนตัวเองให้เป็น อย่างที่อยากเป็น
คัมภีร์สุดยอดทัศนคติ ใช่เลย!!
  เพิ่มเติม >>>
 
 
right story
  •  เรื่องที่อยากเล่าให้ฟัง 175
  •  เรื่องที่อยากเล่าให้ฟัง 173
  •  เรื่องที่อยากเล่าให้ฟัง 174
      ทั้งหมด »»  
     
  •   หัวหน้าทวงงานแล้วรู้สึกหงุดหงิดทุกที ควรแก้ไขอย่างไร?
  •   ความอยากในการทำงานจะลดลงเมื่อเจออุปสรรค จะให้กำลังใจตัวเองอย่างไร?
  •   การพัฒนาพนักงานในองค์กรเราควรพัฒนาคนเก่งหรือพัฒนาคนที่ไม่เก่งดี ?
      ตัวอย่างคำปรึกษาอื่นๆ»»  
     
    คุณ สมศักดิ์ สุริยะกุล
      เนื่องจากผมชอบอ่านหนังสือ จึงเปิดอ่านส่วนนี้ก่อน และเนื่องจากรู้จักเจ้าของบล๊อกเป็นการส่วนตัว และรู้ว่าจะได้แนวคิด ด้านการบริหารในแง่จิตวิทยา และภาวะผู้นำที่เปิดมุมมองใหม่ ๆ ดี ๆ อย่างที่ ผมเคยได้มาแล้วจึงสนใจส่วนนี้เป็นพิเศษ
      เชิญอ่านต่อครับ >>>    
       
     

       
     

    เรื่องที่อยากเล่า # 71

    การเปลี่ยน “ นิยามทางความคิด ” ของเราเอง

    15 มี.ค. 2554

    สวัสดีครับ ปี 2554 นี้ ผมมีความตั้งใจที่จะผลิตเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้สำหรับการพัฒนาตัวเอง เพื่อง่ายในการนำไปใช้ และเห็นผลทันทีที่ลงมือปฏิบัติ แต่ต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เวลาที่เจอเหตุการณ์ต่างๆ

    การพัฒนาพนักงานในองค์กรเราควรพัฒนาคนเก่งหรือพัฒนาคนที่ไม่เก่งดี


    แล้วจะทำให้เรามีความรู้สึกในเชิงลบ เราก็หยิบเครื่องมือมาใช้ได้เลย ซึ้งผมได้ทยอยนำขึ้นบนเว็บไซด์ไว้พอสมควรแล้ว ลองค้นหาแล้วนำไปใช้ดูนะครับ

    สำหรับวันนี้สิ่งที่ผมอยากจะเล่าให้ฟังจะเป็นเรื่องของการเปลี่ยน “ นิยามทางความคิด ” จากสิ่งที่เรารู้สึกว่าเป็นลบ เราจะเปลี่ยนความหมายให้เป็นเรื่องที่เป็นบวก ดังนี้ครับ

  • มองเหตุการณ์ต่างๆ กรณีศึกษา

  • : ถ้าเราเจอเหตุการณ์ต่างๆ ที่เรารู้สึกว่าเป็นเชิงลบกับตัวเรา เราจะรู้สึกเครียด , ท้อถอย , กังวล , เบื่อ เป็นต้น จะทำให้เราไม่มีทางออกของปัญหานั้นๆ เราลองเปลี่ยนเป็นเพียง กรณีศึกษา โดยคิดว่าถ้าคนอื่นเกิดเหตุการณ์แบบนี้แล้วเราจะแนะนำให้เขาปฏิบัติตัวอย่างไร เราก็จะมีทางออกของปัญหาเองครับเพราะคนส่วนใหญ่อยากช่วยคนอื่นและอยากแนะนำวิธีการให้ผู้อื่น แต่ไม่ค่อยแนะนำตัวเองให้เปลี่ยนความคิดครับ

  • มองทีมงาน ทีมกีฬา

  • : การบริหารทีมงานสำหรับหัวหน้างาน / ผู้จัดการ / ผู้บริหาร เป็นเรื่องที่หนักอกหนักใจ เพราะคนมีความหลากหลาย ต่างคนต่างความคิด แต่ถ้าเราคิดว่าทีมงานของเราเป็นทีมงานประเภทหนึ่งที่ทุกคนมีเป้าหมายร่วมกันและเรามีแผนการพัฒนานักกีฬาแต่ละคนในแต่ละตำแหน่งที่เหมาะสม กำหนดกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับประเภทกีฬานั้นๆ กระตุ้นให้ทีมงานเอาชนะเป้าหมายหรือการแข่งขัน อยู่อย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้เราในฐานะผู้จัดการทีม มีความสนุกสนานและมุ่งมั่นมากขึ้นครับ ลองกำหนดทีมของเราเป็นทีมกีฬาดูครับจะทำให้เราอยากบริหารมากขึ้นเองครับ

  • มองงานของเรา เกม ( สนุก , ท้าทาย )

  • : คนส่วนใหญ่มองงานที่ทำอยู่เป็นเรื่องของความรับผิดชอบ ต้องทำให้ดี มิเช่นนั้น หัวหน้าจะว่าเอาได้ จะถูกประเมิน ทำให้เกิดความเครียด และอาจทำให้ไม่ค่อยอยากทำได้ แต่ถ้าเรามองงานเป็น เกมที่เรากำลังจะทำเพื่อให้ชนะเป้าหมายที่กำหนดไว้ จะเกิดความสนุก และท้าทายเราพิชิตได้ ถ้าเล่นแพ้เราก็ลองเล่นใหม่เหมือนการฝึกฝน และจะเล่นให้ได้ดียิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะเกมจูงใจเรามากกว่า ดังนั้นมองงานที่เราต้องรับผิดชอบเป็นเกมประเภทหนึ่ง ก็จะทำให้เราสนุกมากขึ้นจะทำให้ผลลัพธ์ออกมาดีขึ้นครับ


  • มองปัญหา / อุปสรรค หลุมพรางทางความคิด

  • : เวลาเราเจอปัญหา / อุปสรรคต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วเราจะจินตนาการว่ามันจะเลวร้ายกว่าที่เป็นจริง ทำให้เราเกิดความเครียด และเป็นกังวลค่อนข้างมาก ถ้าเราเปลี่ยนความคิดใหม่ว่า ปัญหา / อุปสรรคที่เราเจออยู่นี้เป็นเพียงแค่หลุมพรางทางความคิด ( ความรู้สึกเชิงลบ ) ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เราสามารถเอาชนะได้ โดยการค้นหาทางสาเหตุว่าที่เรารู้สึกเชิงลบเช่นนี้ เป็นเพราะสาเหตุใดแล้วเราจะเอาชนะได้โดยวิธีใด เช่นโกรธ เพราะไม่ได้ดั่งใจ เราก็เปลี่ยนความคิดใหม่ว่าถ้าเราไม่ได้โกรธจะทำอย่างไรบ้าง ความรู้สึกโกรธจะลดน้อยลงครับ

    ผมได้มีตัวอย่างกรณีศึกษา ลักษณะต่างๆ พร้อมหลุมพรางทางความคิดและเทคนิคการเอาชนะบางส่วนขึ้นอยู่บนเว็บไซด์แล้วลองนำไปทดสอบ และฝึกฝนกันดูนะครับ หวังว่าคงสนุกกับการให้นิยามใหม่เพื่อนำไปสู่การพัฒนาตัวเองนะครับ

    << เรื่องก่อนหน้า เรื่องเล่าย้อนหลัง เรื่องต่อไป >>

    No feedback in this topic !!!

    ส่งความคิดเห็น/มุมมองของท่าน

    Untitled Document
                         
      Home | บอกเล่าแนวความคิด | เรื่องเล่าน่าภูมิใจ | web นี้ให้อะไร | หลักสูตร | บริการ | ติดต่อผม |  Copyright @ Pakornblog.com