Untitled Document
Massive Blue ~ CSS Vertical Menu
  หน้าแรกพื้นที่ทบทวน Coach
Slide สำคัญพร้อมคำอธิบาย
แก่นสำคัญของการโค้ชชิ่ง
ทักษะสำคัญที่ใช้ในการโค้ช
ธรรมชาติของมนุษย์
คำถามสร้างพลังและแนวความคิด
Workshop ต่างๆ
กรณีศึกษา
การให้เทคนิคโค้ช
Group Coaching
1 : 1 Coaching
การฝึกฝนเพิ่มเติม
ขั้นตอนการโค้ช
อาจารย์ปกรณ์สรุปเนื้อหา
 
 
|
ทักษะสำคัญที่โค้ชใช้ในการโค้ชชิ่ง
 
   
   
 การใช้คำถามที่ดี (Questioning)
 การรับฟังอย่างตั้งใจ (Listening)
 การให้ข้อมูลป้อนกลับเชิงบวก (Positive Feedback)
 การจูงใจและให้กำลังใจ (Motivation)
 การกำหนดเป้าหมายร่วมกัน (Set Goal)
 
 
การใช้คำถามและการรับฟังอย่างตั้งใจ เป็นทักษะที่โค้ชควรพัฒนาเป็นอย่างยิ่งเพราะพลังในการใช้คำถามที่ดีจะทำให้โค้ชชี่มองเห็นตัวเอง, กระตุ้นให้โค้ชชี่เกิดความอยากเปลี่ยนแปลง และมุ่งมั่นกับเป้าหมายมากขึ้น ซึ่งเทคนิคการใช้คำถามที่ดี และถูกต้องก็จะช่วยให้โค้ชชี่พัฒนาตัวเองได้ดียิ่งขึ้น
 
การรับฟังอย่างตั้งใจ คือ การฟังเรื่องที่โค้ชชี่ พูดคุยหรือเล่าให้ฟังโดยไม่มีการพูดแทรก หรือแสดงความคิดเห็นใดๆ จนกว่าจะแน่ใจว่าโค้ชชี่พูดจบแล้ว จึงค่อยพูดและควรหลีกเลี่ยงที่จะให้แนวความคิดในทันที แต่ใช้คำถามเพิ่มเติมจนแน่ใจว่าโค้ชชี่อยากได้แนวคามคิดของโค้ช จึงจะให้มุมมองแต่ก็ต้องย้ำว่า โค้ชชี่ต้องเป็นผู้คิดว่าจะนำไปใช้หรือไม่ ด้วยตัวโค้ชชี่เอง การแสดงความสนใจฟัง จะทำให้โค้ชชี่รู้สึกผ่อนคลายที่ได้พูดคุยกับโค้ชมากขึ้น และฟังให้เข้าใจความรู้สึกของโค้ชชี่เป็นหลัก ไม่ควรใช้ความคิดของตัวเองระหว่างการฟังโค้ชชี่พูด
 
การให้ความคิดเห็นป้อนกลับในเรื่องต่างๆ ควรใช้ภาษาหรือแนวคิดที่เป็นเชิงบวก ไม่ใช่การตำหนิ หรือแสดงตัวเหนือโค้ชชี่ แต่เป็นการให้มุมมองและแนวความคิดที่เป็นประโยชน์เพื่อให้โค้ชชี่ สนใจและอยากนำไปประยุกต์ใช้กับตัวโค้ชชี่เอง และควรระบุให้ชัดว่า โค้ชให้แนวความคิดเห็นป้อนกลับในเรื่องที่เกี่ยวกับด้านใด เช่น
แนวความคิดของโค้ชชี่
วิธีการที่โค้ชชี่ปฏิบัติ
พฤติกรรมการแสดงออก
เรื่องที่กำลังโค้ชชิ่งอยู่
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
 
การจูงใจและให้กำลังใจกับโค้ชชี่ จะกระตุ้นให้โค้ชชี่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง กับการเผชิญอุปสรรคของการเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น เพราะคนส่วนใหญ่กลัว และกังวลกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ในอนาคตที่มิอาจคาดเดาได้ ดังนั้น โค้ชควรเป็นกำลังใจและจูงใจให้โค้ชชี่มีมุมมองที่เป็นเชิงบวก และคิดถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในด้านที่ดี และเป็นประโยชน์ต่อโค้ชชี่มากกว่าข้อเสีย จะทำให้โค้ชชี่พร้อมและเต็มใจที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองมากขึ้น

ตัวอย่างการให้กำลังใจ
- ชื่นชมเรื่องดีๆ ของโค้ชชี่ที่แสดงออกมา
- จูงใจให้โค้ชชี่มองเห็นข้อดีของตัวเอง
- มองอุปสรรคเป็นเรื่องท้าทายความสามารถ
- ความล้มเหลวจะกลายเป็นประสบการณ์ที่ดีของโค้ชชี่เอง
- กระตุ้นให้โค้ชี่เล่าเรื่องภาคภูมิใจในอดีตให้ฟัง

 
การกำหนดเป้าหมาย หลังจากการโค้ชชิ่งเสร็จเป็นสิ่งที่โค้ชละเลยไม่ได้ เพราะการโค้ชชิ่งมุ่งเน้นที่โค้ชชี่เกิดการเปลี่ยนแปลงตัวเอง ตามเป้าหมายที่กำหนดร่วมกัน ดังนั้นโค้ชต้องจูงใจให้โค้ชชี่มองเห็นเป้าหมายนั้นๆ เป็นของโค้ชชี่เองมิใช่ของโค้ช ทักษระนี้จึงต้องทำให้เกิดความชัดเจน และโค้ชชี่เกิดความยอมรับด้วยความเต็มใจ แต่โค้ชก็จะมีส่วนร่วมในเรื่องของการติดตามผล การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน
   
 
“ทักษะที่ดี เกิดจากการทำซ้ำบ่อยๆ ด้วยความตั้งใจ จนกลายเป็นธรรมชาติของตัวเอง”