Untitled Document
Massive Blue ~ CSS Vertical Menu
  หน้าแรกพื้นที่ทบทวน Coach
Slide สำคัญพร้อมคำอธิบาย
แก่นสำคัญของการโค้ชชิ่ง
ทักษะสำคัญที่ใช้ในการโค้ช
ธรรมชาติของมนุษย์
คำถามสร้างพลังและแนวความคิด
Workshop ต่างๆ
กรณีศึกษา
การให้เทคนิคโค้ช
Group Coaching
1 : 1 Coaching
การฝึกฝนเพิ่มเติม
ขั้นตอนการโค้ช
อาจารย์ปกรณ์สรุปเนื้อหา
 
 
|
เทคนิคการใช้คำถามที่ดีสำหรับโค้ช
 
   การสอนงาน (Coaching) ของโค้ชนั้น ควรใช้คำถาม? เพื่อให้โค้ชชี่คิด และมองเห็นตัวเอง ยอมรับในสิ่งที่ตัวเองเป็นอยู่ และกระตุ้นให้เกิดความอยากเปลี่ยนแปลง โดยทำให้มองเห็นถึง ผลดีของการเปลี่ยนแปลง และ/หรือ ผลเสียของการไม่เปลี่ยนแปลง แต่โค้ชชี่ ต้องเป็นผู้เลือกที่จะเปลี่ยนแปลงด้วยตัวของเขาเอง เป็นสำคัญ ดังนั้น การใช้คำถามในแต่ละอย่างจึงเป็นสิ่งที่โค้ชต้องเตรียมตัว และใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ จะทำให้โค้ชชี่รู้สึกสบายใจในการตอบคำถามของโค้ช และผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงที่โค้ชชี่ตัดสินใจเปลี่ยนแปลงตัวเอง ก็จะเกิดขึ้น
  ตัวอย่างคำถาม เพื่อให้โค้ชชี่มองเห็นตัวเอง เช่น ...
เธอคิดอย่างไรกับ “หัวข้อ” ที่ใช้ในการ Coaching ครั้งนี้ ?
เธอช่วยบอกความรู้สึกกับเรื่อง “หัวข้อ” นี่หน่อยซิ ?
เธอเคยมีประสบการณ์ในเรื่อง “หัวข้อ” นี้มากน้อยแค่ไหน ?
เธออยากจะเป็น/เก่งใน “หัวข้อ” นี้หรือไม่ ?
เธอช่วยอธิบายความหมายของ “หัวข้อ” ที่เธอเข้าใจให้ฟังหน่อย ว่าเป็นแบบไหน ?
เธอเห็นด้วยกับ “หัวข้อ” ที่เลือกนี้มากน้อยแค่ไหน ?
 ตัวอย่างคำถาม ยืนยันในสิ่งที่โค้ชชี่เป็นอยู่ เช่น ...
เธอรู้สาเหตุที่เธอคิดแบบนี้หรือไม่ ?
ทำไมเธอจึงกังวลในเรื่องนี้มากจังเลย ?
เธอไม่แน่ใจในตัวเองว่าจะทำได้ คิดว่าเป็นเพราะเหตุใด ?
เธอเป็นแบบนี้มานานเท่าไหร่แล้ว ?
เหตุการณ์แบบไหนที่ทำให้เธอเป็นแบบนี้บ่อยๆ ?
เธอยอมรับในเรื่องนี้ได้มากน้อยแค่ไหน ?
 ตัวอย่างคำถาม เพื่อ กระตุ้นให้โค้ชชี่มีทางเลือกเกิดขึ้น เช่น ...
เธอคิดว่ามีทางเลือกอื่นที่จะทำให้ดีขึ้นหรือไม่ ?
เธอจะแก้ไขปัญหา/อุปสรรค์ที่เจออยู่นี้ได้อย่างไร ?
เธอคิดว่า วิธีการใหม่กับวิธีการเดิมที่เคยปฏิบัติ อย่างไหนดีกว่ากัน ?
ทำไมเธอจึงคิดว่า ไม่มีวิธีการอื่นๆอีกแล้ว ลองคิดดูดีๆ ?
เธออยากจะปรับปรุงวิธีการใหม่ๆอย่างไร ?
 ตัวอย่างคำถาม เพื่อให้โค้ชชี่กำหนดเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงตัวเอง เช่น ...
เธอตัดสินใจว่าจะเปลี่ยนแปลงตัวเองเรื่องอะไรบ้าง ?
เธอสรุปว่าจะเปลี่ยนแปลงตัวเองเรื่อง ......... , ......... , ......... นี้ใช่ไหม ?
เธอตั้งใจจะลงมือทำเมื่อไหร่ ?
เธอคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเมื่อไหร่ ?
เธอกำหนดเป้าหมายอย่างไรกับเรื่องนี้ ?
เธอเยี่ยมจริงๆ เธอช่วยสรุปเรื่องที่จะเปลี่ยนแปลงอีกทีซิ ?
พี่สรุปว่า เรามีเป้าหมายที่เธอจะเปลี่ยนแปลงตัวเองร่วมกัน ดังนี้ ......... ใช่ไหม ?
 ตัวอย่างคำถาม เพื่อจูงใจให้โค้ชชี่เห็นประโยชน์ของสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลง เช่น ...
เธอคาดว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะได้ประโยชน์อะไร ?
เธอเห็นประโยชน์ของเรื่องนี้อย่างไร ?
เธอคิดว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะคุ้มค่าหรือไม่ ? เพราะเหตุใด ?
งานที่เธอทำอยู่ ให้ประโยชน์อะไรกับเธอบ้าง ?
เธอแน่ใจว่าเต็มใจที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง เธอจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง ?
ถ้าเธอทำแบบเดิมๆ ไม่เปลี่ยนแปลง จะเกิดผลเสียเรื่องอะไรบ้าง ?
การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้น เธอต้องมองเห็นประโยชน์ด้วยตัวเอง เธอเห็นประโยชน์ใช่ไหม ?
อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เธอคิดที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองในครั้งนี้ ?

 ตัวอย่างคำถาม ให้โค้ชชี่สร้างทัศนคติเชิงบวก ให้กับตัวเอง เช่น ...

เธอมามารถปรับเปลี่ยนความคิดเป็นเชิงบวกได้อย่างไร ?
เธอมีความสามารถอยู่แล้ว เธอคิดว่าจะเอาชนะอุปสรรค์ครั้งนี้ไปได้อย่างไร ?
เธออยากทำเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน ? คิดถึงประโยชน์ของงานนี้หน่อยซิ
ความคิดเชิงบวก สามารถแทนความคิดเชิงลบได้ เธอเชื่อหรือไม่ ?
เธอจะสร้างความเชื่อมั่นให้ตัวเองเพิ่มขึ้นได้อย่างไร ?
เธอคิดว่าเธอมีจุดเด่นเรื่องอะไรบ้าง ? ไหนลองชมตัวเองให้ฟังหน่อย !
เธอเคยมีเรื่องภาคภูมิใจในอดีตเรื่องอะไร ? เล่าให้ฟังหน่อยซิ !
เธอมองเฉพาะส่วนที่ดีของ ......... ได้หรือไม่ ?
เหตุการณ์นี้ ถ้าจะให้วิเคราะห์ในด้านดี เธอมองว่าเป็นอย่างไร ?
  การใช้คำถามที่ดี ในกรณีที่โค้ชชี่มีอาการต่างๆ ดังนี้ ...
โค้ชชี่ไม่ค่อยยอมตอบคำถาม
เล่าประสบการณ์ของเราในเรื่องนั้นๆ ก่อนแล้วจึงถามว่า “เธอคิดอย่างไร ?”
การใช้คำถามที่สามารถตอบได้ง่ายๆ ก่อน เช่น
เธอคิดว่าพี่เป็นคนอย่างไร ?
เธอชอบงานนี้หรือไม่ ?
เธอชอบกีฬาอะไรมากที่สุด ?
เป็นต้น
จูงใจให้เขาเล่าเรื่องแทนการตอบคำถามของเรา เล่าอะไรให้พี่ฟังหน่อย ?
โค้ชชี่ไม่อยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง
อย่าบังคับให้เขาเปลี่ยนแปลง ต้องทำให้เขายอมรับเอง
โดยใช้คำถามทำให้เห็นประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเองให้ได้ เช่น
ทำไมไม่อยากเปลี่ยนแปลง ?
เปลี่ยนแปลงแล้วได้ประโยชน์อะไร ?
ลองเปลี่ยนแปลงดูหน่อย จะดีหรือไม่ ?
เธอลองคิดดูอีกที ว่ามีประโยชน์อย่างไร ?
เป็นต้น
โค้ชชี่พยายามอธิบายเรื่องของตัวเขาเอง มากกว่าการตอบคำถาม

พยายามใช้คำถามประเภทที่ทำให้เขาแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่กำลังพูดคุยกัน เช่น ...
เธอคิดอย่างไรกับเรื่องนี้ ?
เธอรู้สึกอย่างไร ? เพราะเหตุใด ?
เธออยากเปลี่ยนแปลงตัวเองหรือไม่ ?
เป็นต้น

โค้ชชี่รู้สึกอึดอัดจากการตอบคำถาม
เปลี่ยนบรรยากาศเป็นการเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับตัวเองแทนให้น่าสนใจ แล้วจึงค่อยถามต่อว่า “เธอคิดอย่างไรกับเรื่องนี้ ?”
เปิดโอกาสให้เขาถามเราบ้าง เช่น “เธอจะถามอะไรพี่หรือไม่ ?”