Untitled Document
Massive Blue ~ CSS Vertical Menu
  หน้าแรกพื้นที่ทบทวน Coach
Slide สำคัญพร้อมคำอธิบาย
แก่นสำคัญของการโค้ชชิ่ง
ทักษะสำคัญที่ใช้ในการโค้ช
ธรรมชาติของมนุษย์
คำถามสร้างพลังและแนวความคิด
Workshop ต่างๆ
กรณีศึกษา
การให้เทคนิคโค้ช
Group Coaching
1 : 1 Coaching
การฝึกฝนเพิ่มเติม
ขั้นตอนการโค้ช
อาจารย์ปกรณ์สรุปเนื้อหา
 
 
|
การให้เทคนิคโค้ช : Group Coaching
 

ตัวอย่าง : เอาชนะความวิตก กังวล ด้วยตัวเอง

วันนี้อยากจะโค้ชชิ่ง (Coaching) ตัวเองให้เป็นตัวอย่างกับทุกๆ ท่าน เพราะผมได้มีโอกาสอ่านหนังสือ โค้ชตัวเอง (Life Coach) โดยบอกว่าเรามีโค้ชภายในของตัวเอง และโค้ชนั้นคอยช่วยเหลือเราอยู่ตลอดเวลา โดยที่โค้ชจะไม่ตัดสินใจ ไม่ตำหนิ แต่จะคอยกระตุ้นให้เราใช้ศักยภาพของเราเอง โดยการใช้คำถามและให้กำลังใจกับเราในเรื่องต่างๆ ดังนั้น ถ้าเราฟังเสียงภายในของเราได้ เราก็จะมีโค้ชที่เข้าใจเรา และอยู่ใกล้ตัวเราตลอดเวลา
 
สมัยก่อนผมเป็นคนขี้กังวล ชอบจินตนาการเรื่องร้ายๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งๆ ที่มันยังไม่เกิดขึ้น จนทำให้ตัวเองเครียด พอเริ่มโค้ชชิ่ง (Coaching) ตัวเองเป็น ก็ทำให้คลายความกังวลไปได้เยอะ (ยังไม่หมดนะครับ ) จึงจะเล่าให้ฟังว่าผมโค้ชชิ่งตัวเองอย่างไรนะครับ
 
ผมเอง : 
ลูกค้าทำไมน้อยจังเลย ไม่รู้ว่าจะมีลูกค้าต่อเนื่องหรือไม่ ลูกค้าเก่าก็ยังไม่ได้ confirm วันฝึกอบรมเข้ามาเลย
โค้ชภายใน : 
ที่กังวลนี้ เพราะไม่ได้ตามเป้าหมาย หรืออยากได้เพิ่มอีก
ผมเอง : 
เป้าหมาย พอได้แล้ว เพราะ 2 เดือนข้างหน้ามีลูกค้ารออยู่แล้ว แต่อยากให้มั่นใจเพิ่มว่าเดือนต่อๆไปก็ยังมีลูกค้าอีก
โค้ชภายใน : 

ถ้าอยากให้มีลูกค้าเพิ่มขึ้นอีก ต้องทำอะไรเพิ่มขึ้นบ้าง?

ผมเอง : 
ก็ดำเนินการตามกระบวนการที่กำหนดไว้
 
- เปิดลูกค้าเพิ่มอีก
- นำเสนอCourse Outline ให้ลูกค้าที่สนใจ
- เปลี่ยนลูกค้าคาดหวังให้เป็นProposal ครบเครื่อง
- ส่งเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ให้ลูกค้าที่สนใจ
- ติดตามลูกค้าเป็นปกติ  ไม่ต้องเร่งลูกค้า
โค้ชภายใน : 

แล้วกระบวนการเหล่านี้ น้องๆในทีมทำอยู่หรือไม่?

ผมเอง : 
น้องๆก็ตั้งใจทำกันอยู่ และดูแล้วก็มุ่งมั่นกันมาก แต่ก็ยังไม่ค่อยเห็นผล
โค้ชภายใน : 
ระหว่างที่รออยู่เราสามารถทำอะไรเพิ่มขึ้นได้อีกหรือไม่
ผมเอง : 

ถ้าให้คิดตอนนี้ก็อยากจะทำเครื่องมือที่เป็นประโยชน์กับลูกค้า เพิ่มขึ้นอีกเพื่อให้น้องๆ ไว้ส่งให้กับลูกค้าที่สนใจ เช่น

 
- กรณีศึกษา
- ตัวอย่างคำปรึกษาเพิ่มเติม
- บทความที่เป็นประโยชน์
เป็นต้น
โค้ชภายใน : 

แทนที่จะมากังวล แต่ไปทำเครื่องมือเพิ่มขึ้นจะดีกว่าหรือไม่?

ผมเอง : 

จริงซินะ เราคงเร่งลูกค้าไม่ได้ แต่ต้องให้ครบกระบวนการ และเสริมในสิ่งที่มีประโยชน์ เพิ่มขึ้น เดี๋ยวลูกค้าก็เลือกเราเอง

โค้ชภายใน : 
ความกังวลเป็นความรู้สึกเชิงลบ ที่เราไปจดจ่อกับผลลัพธ์ที่เราไม่แน่ใจ แต่ถ้าเปลี่ยนมาสนใจเรื่องที่เราทำได้ความกังวลก็คงจะหายไปเอง
ผมเอง : 
จริงด้วย เพราะหลายๆ ครั้ง ที่ผ่านมา เรากังวลเพราะผลลัพธ์ไม่ตรงกับความคิด แค่นั้นเอง
 
ทุกครั้งที่ผมเกิดความรู้สึกกังวล ผมก็จะถามตัวเองประมาณนี้แล้วก็จะค้นพบสิ่งที่ควรทำ แต่ยังไม่ได้อีกเยอะ ทำให้อยากไปทำเรื่องที่เป็นประโยชน์แทน พอไปจดจ่อเรื่องที่ผมทำได้ดี ความกังวลก็หายไปเองครับ

ผมโค้ชชิ่ง (Coaching) ตัวเองเยอะครับ เพราะทำได้ง่าย และทำได้ทันที เมื่อไรมีความรู้สึกเชิงลบ ก็จะตั้งคำถามคล้ายๆ โค้ชกับตัวเองทันที ก็แก้ไขไปได้เยอะเลยครับ ลองทำดูนะครับ